ป้ายคำ (Tag)

วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ

“ต้นไม้ให้ชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเเละลมหายใจของเรา” 
ไม่ใช่เพียงแค่ทรัพยากรป่าไม้ตามธรรมชาติที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ และช่วยกันดูแลรักษา แต่เราทุกคนควรให้ความสำคัญกับต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ตัวเราด้วยเช่นกัน
เพราะนอกจากต้นไม้จะช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน 
ได้ดีเยี่ยมมากๆ เพราะต้นไม้ก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่จะช่วยเราในเรื่อง PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาในทุกๆ ปีเลยนะ ครับ

วันนี้เรามาเปิดใจรับรู้คุณค่าของการปลูกต้นไม้กันดีกว่าว่า ต้นไม้ลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไรครับ
>> 1. ต้นไม้สามารถดูดซับกลิ่นมลพิษและฝุ่นละออง ผ่านทางใบและเปลือกหรือลำต้น
>> 2. อากาศที่มีมลพิษเมื่อไหลผ่าน เรือนยอดของต้นไม้แล้วสามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้ 10-50 % และทำใหอุณหภูมิลดลง 0.43-3 องศาเซลเซียส 
>> 3. ฝุ่น PM 2.5 จะเกาะแน่นกับผิวของใบไม้ที่ชั้นคิวติเคิลหรือเหยื่อบุผิวนอก ที่มีสารคล้ายขี้ผึ้งห่อหุ้มอยู่บางๆ รวมทั้งตามเปลือกของกิ่งกานและลำต้นฝุ่นที่  เกาะอยู่ตามต้นไม้  เหล่านี้จะถูกน้ำฝน หรือการพ่นน้ำใส่เรือนยอดต้นไม้จะช่วยชะล้างฝุ่นออกแล้วไหลลงสู่พื้นดินหรือท่อระบายน้ำต่อไป
>> 4. ฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื้อของพืชได้ทางช่องเปิดของปากใบและช่องอากาศตามกิ่งและลำต้น 
>> 5. การสังเคราะห์แสงของพืช จะช่วยดูดฝุ่น PM2.5 และก๊าชพิษต่างๆเข้าไปเปลี่ยนเป็นก๊าชออกซิเจนและไอน้ำออกมาแทนที่ จึงทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น  เปรียบเสมือนกับเครื่องปรับอากาศที่มีชีวิตนั่นเอง
>> 6. จำนวนพุ่มใบที่หนาแน่น เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวที่สามารถช่วยดักจับและกักฝุ่นละอองได้เพิ่มขึ้นรวมถึงขนาดใบไม้ที่กว้างและไม้ใบแคบนั้นมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น PM 2.5 ได้ใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของผิวใบโดยรวม 

มาต่อกันด้วยเคล็ดลับการเลือกต้นไม้ที่สามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพกันครับ เริ่มด้วย


ต้นไม้ที่เหมาะกับการนำมาปลูกไว้ภายในอาคารที่สามารถทำหน้าที่ดูดซับสารพิษ ดูดก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ มี่อัตราการคายน้ำสูง และทนร่มเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ


ต้นแรก แนะนำเป็นต้น “ ลิ้นมังกร” ซึ่งมีคุณสมบัติปล่อยก๊าชออกซิเจน ทำหน้าที่ตอนกลางคืนผ่านขบวนการเปิดใบคายก๊าชดูดซับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์

ซึ่งต่างจากต้นไม้ทั่วไปที่ตอนกลางคืนจะคายก๊าชคาร์บอนออกไซด์ จึงเหมาะสำหรับปลูกทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคาร โดยเฉพาะห้องนอน 


ตามมาด้วยต้นไม้ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน  ได้แก่ต้น  “ จั๋ง ยางอินเดีย เฟิร์นบอสตัน และเฟิร์นดาบออสเตเลีย ที่สามารถนำมาปลูกภายในอาคารเพื่อช่วยลดฝุ่นได้ดีเยี่ยม

#เปลี่ยนนิดพิชิตโรค #PM2.5 #วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ #NDCs

ที่มา : ราชันย์ ภู่มา. “ต้นไม้ลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไร” ใน ต้นไม้ลดฝุ่น PM2.5. หน้า 8-11.ธัญนรินทร์ ณ นคร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2563