สาระความรู้

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือ หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิด การตีบตันและแคบ ทําให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจ ล้มเหลว ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือถ้าเกิดบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทําให้เลือด ไปเลี้ยงสมองได้น้อยเกิดโรคสมองขาดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต

ที่มา : แนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

จากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผย ณ วันที่ 16 กันยายน 2561 จำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ 432,943 คน โดยจากจำนวนดังกล่าว มีอัตราการตายถึง 20,855 คน ต่อปี หรือ ชั่วโมงละ 2 คน อ้างอิงจาก ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ. 2555 – 2559 เท่ากับ 23.4, 26.9, 27.8, 29.9 และ 32.3 แนวโน้ม การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข

โรคหัวใจขาดเลือด(Ischemic heart disease, IHD) 

หรือโรคหลอดเลือดแดง โคโรนารี (Coronary artery disease, CAD) หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดง ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมอยู่ในผนัง ของหลอดเลือด มีผลให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ผู้ป่วยจะมี อาการและอาการแสดงเมื่อหลอดเลือดแดงนี้ตีบร้อยละ50 หรือ มากกว่าอาการสำคัญ ที่พบได้บ่อยเช่น อาการเจ็บเค้นอก ใจสั่น เหงื่อออก เหนื่อยขณะออกแรง เป็นลม หมดสติหรือเสียชีวิตเฉียบพลัน สามารถแบ่งกลุ่มอาการทางคลินิกได้2 กลุ่ม คือ 

ภาวะเจ็บเค้นอกคงที่ (Stable angina) และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) ภาวะเจ็บเค้นอกคงที่ (stable angina) หรือ ภาวะเจ็บเค้นอกเรื้อรัง (chronic stable angina) หมายถึง กลุ่มอาการที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง (chronic ischemic heart disease) โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเค้นอกเป็นๆ หายๆอาการไม่รุนแรง ระยะเวลาครั้งละ3-5 นาทีหายโดยการพักหรืออมยาขยายเส้นเลือดหัวใจเป็นมานาน กว่า 2 เดือน 

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome, ACS) หมายถึง กลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ประกอบด้วยอาการที่สำคัญ คือ เจ็บเค้นอกรุนแรงเฉียบพลัน หรือเจ็บขณะพัก (Rest angina) นานกว่า 20 นาทีหรือ เจ็บเค้นอกซึ่งเกิดขึ้นใหม่ หรือรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

หมายถึงภาวะหัวใจล้มเหลวที่แสดงอาการอย่าง รวดเร็ว อาจเป็นการแสดงอาการครั้งแรก (de novo heart failure) หรือการทรุดหนักลง (decompensation) ของผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังเดิม ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติได้หลายระบบไม่จำกัดเพียงระบบหัวใจและหลอดเลือด มีสาเหตุจาก 

– โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน 

– ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ 

– กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน เช่น ผนังหัวใจทะลุ ลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน ลิ้นหัวใจเทียมขัดข้อง 

– โรคหัวใจใด ๆ ที่ทรุดลงตามการดำเนินโรค เช่น โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วเรื้อรัง 

– ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเจ็บป่วยอื่น ๆ 

– หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation (AF)

ผู้ป่วย AF อาจไม่มีอาการ หรือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้ได้แก่ ใจสั่นเหนื่อยง่าย เป็นๆ หายๆ เหนื่อยขณะออกกำลัง ความสามารถในการออกกำลัง กายลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ สามารถแบ่งสาเหตุได้ดังนี้ 

– เป็นผลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) เช่น โรค ลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง 

– เป็นผลจากโรคของระบบอื่น (non-cardiovascular disease) เช่น โรค ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลัง ผ่าตัด 

– ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic)

ที่มา : แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557, แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2562, แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation (AF) ในประเทศไทย

ไขมัน

แม้ไขมันจะเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ แต่เนื่องจากไขมันอยู่ในอาหารแทบทุกชนิดผู้ป่วยโรคหัวใจจึงต้องงดไขมันที่ได้จากแหล่งอื่น เช่น ขนม ขนมหวาน เนย

น้ำมันที่ใช้ทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องมีสัดส่วน “กรดไขมันชนิดดี” อยู่มาก เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนลา และต้องเลือกชนิดที่ทนความร้อนสูงเพื่อไม่ให้ไขมันเปลี่ยนรูป

น้ำมันเหล่านี้จะช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) และลดไขมันเลว (LDL) ทำให้ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ส่วนน้ำมันที่ควรเลี่ยงคือน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู และน้ำมันพืชบางชนิด เช่นน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เพราะมีไขมันเลวอยู่มาก

คาร์โบไฮเดรตและใยอาหาร

ผู้ป่วยโรคหัวใจต้องจำกัดน้ำตาลและอาหารจำพวกแป้ง เช่นขนมปัง ข้าวขัดขาว ให้รวมแล้วไม่ถึง 45% ของอาหารทั้งหมดที่กินไปต่อวันหรือไม่ถึงครึ่งนั่นเอง

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ย่อยและดูดซึมได้เร็ว ถ้ากินมากจะส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น การเผาผลาญไขมันลดลง เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตช่วยให้อิ่ม คนส่วนใหญ่จึงเลือกกินอาหารประเภทนี้แต่ควรเลือกแบบที่มีกากใยสูงเพื่อลดคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล เช่นเลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาว

โปรตีน

เมื่อพูดถึงโปรตีน หลายคนจะนึกถึงเนื้อสัตว์และนม  ซึ่งทั้ง2อย่างมักจะมาพร้อมกับไขมัน และเป็นไขมันชนิดเลวที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรเลี่ยง

ที่จริงแล้วยังมีทางเลือกอื่นๆเช่น เต้าหู้ที่ปรุงโดยการต้มหรือผัดด้วยน้ำมันพืชที่มีประโยชน์ หรือนมถั่วเหลืองน้ำเต้าหู้ที่ไม่ใส่น้ำตาล ถ้าจะรับประทานเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานปลาที่ปรุงสุกด้วยการนึ่ง อบ หรือผัดด้วยน้ำมันพืชปริมาณน้อย หลีกเลี่ยงปลาทอดโดยเฉพาะหนังปลาทอดกรอบส่วนเนื้อสัตว์อื่นๆเช่น หมู วัว ไก่ กุ้ง ปลาหมึก ก็ควรหลีกเลี่ยง

วิตามินและแร่ธาตุ

เทคนิคการรับประทานอาหารให้อิ่มโดยไม่ต้องพึ่งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน หรือโปรตีน นั่นคือการรับประทานผักและผลไม้ให้มากๆ โดยเฉพาะผักใบเขียวซึ่งมีเส้นใยสูง รวมทั้งมีวิตามินกับแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินบี6 และ บี12 จะช่วยลดสารโฮโมซิสเตอีนซึ่งเป็นตัวการของโรคหัวใจส่วนผลไม้ต้องเลือกกินผลไม้กากใยสูง น้ำตาลน้อย เช่น ฝรั่ง ชมพู่ 

ที่มา : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 

การเดินเร็ว เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจที่สูงอายุ เพราะไม่ทำให้เหนื่อยจนเกินไป การเดินเร็วสัปดาห์ละ 1-3 ชั่วโมง จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 30

การวิ่ง ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงสูบฉีดเร็วขึ้น ลดความเครียด ละยังช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ แข็งแรงด้วย

การว่ายน้ำ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น อีกทั้งน้ำยังเป็นตัวพยุงน้ำหนักที่ดี ดังนั้น แม้ออกแรงมากแต่จะรู้สึกเหนื่อยน้อยกว่าการออกกำลังกายบนบก

ข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจที่ต้องการออกกำลังกาย

  • ไม่ควรออกกำลังกายในขณะท้องว่าง และก่อนออกกำลังกายควรเว้นระยะจากการรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง
  • ควรออกกำลังกายในที่ร่ม หากขณะนั้นมีสภาพอากาศร้อน หรือหนาวจัด
  • อย่ากลั้นหายใจในขณะออกกำลังกาย ในระหว่างออกกำลังกายพยายามหายใจปกติ
  • ควรอบอุ่นร่างกาย และมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
  • สถานที่ออกกำลังกายควรมีเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย
  • อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ (ควรดื่มน้ำก่อนออกกำลังกายประมาณ 1 แก้ว)
  • ไม่จำเป็นต้องใช้แรงมากเกินไปในการออกกำลังกาย แต่ควรเน้นเวลาที่เหมาะสม
  • ไม่ออกกำลังกายหากรู้สึกไม่สบาย
  • ไม่ควรหยุดออกกำลังกาย หรือควรหยุดออกกำลังกายทันทีเมื่อมีอาการดังนี้ คือ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยผิดปกติ

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์

1. อายุมากกว่า 35 ปี

2. สูบบุหรี่

3. มีภาวะอ้วน

4. มีความเครียด

5. เป็นโรคความดันโลหิตสูง

6. เป็นโรคเบาหวาน

7. มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

8. มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเปนโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย, เคยได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ, ใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ, อัมพฤกษ์ อัมพาต, เสียชีวิตจากหลอดเลือดหัวใจ ก่อนอายุ 55 ปี ในเพศชาย หรือก่อนอายุ 65 ปี ในเพศหญิง

ที่มา : คู่มือประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

– ลดอาหารหวาน มัน เค็มจัด ชิมก่อนปรุง และปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยําและผัดที่ไม่มันมากกว่าอาหารทอด

– ควรอ่านฉลากอาหารทุกครั้งและเลือกซื้ออาหารกระป๋องหรืออาหารสําเร็จรูปที่มี เครื่องหมายอาหารรักษ์หัวใจของมูลนิธิหัวใจ ฯ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นรูปหัวใจสีขาวและเครื่องหมายขีดถูกสีขาว บนพื้นวงกลมสีแดง ดังรูป

– เพิ่มผักสดและผลไม้ที่ไม่หวานจัด รับประทานผักสดมื้อละ 2 ฝ่ามือพูน หรือ ผักสุกมื้อละ 1 ฝ่ามือพูน ผลไม้ไม่หวานจัด 15 คําต่อวัน หรือรับประทาน ผัก ผลไม้อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมต่อวัน 

– ควบคุมนํ้าหนักตัวให้เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำ

– จัดการความเครียดในวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น นอนหลับพักผ่อน ออกกําลังกาย ฟังเพลง ทํางานศิลปะ

– ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่

– ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ที่มา : แนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำถามที่ 1 เป็นโรคหัวใจไม่ควรออกกำลังกายจริงหรือไม่

ตอบ      สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจแล้ว  การออกกำลังกายก็ยังมีประโยชน์อย่างมาก โดยมีจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ  2 ข้อ คือ
          1.  เพื่อลดการดำเนินโรคและยืดอายุผู้ป่วย  
          2.  เพื่อรักษาให้สุขภาพกลับไปแข็งแรงใกล้เคียงหรือเท่าๆ กับก่อนจะเป็นโรคหัวใจ

ก่อนออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาใด ๆ ผู้ป่วยทุกคนควรปรึกษาแพทย์และควรออกกำลังแต่พอเหมาะ  ช่วงที่เริ่มออกกําลังกายระยะแรก  ควรซ้อมเบาๆ ค่อยเป็นค่อยไป  ไม่รีบร้อน และหยุดพักเมื่อเริ่มเหนื่อยหรือแน่นหน้าอก หลังจากที่เริ่มเคยชินก็ค่อยๆ เพิ่มเวลาของการออกกำลังกาย จนสามารถทําได้อย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 15 นาทีขึ้นไป และทําเป็นประจําทุกวัน ที่สำคัญต้องไม่ลืมเตรียมร่างกาย (Warming up and down) ก่อนและหลังการออกกำลังกายซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากและควรทำทุกครั้ง

ที่มา : สำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คะแนนความพึงพอใจ

/ 5.